5 โซเชียลมีเดียที่ผู้สูงวัยต้องรู้

 

            ในปัจจุบันเราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าเป็นยุคแห่งเทคโนโลยี เป็นยุคที่ผู้คนสื่อสารกันผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ต้องยอมรับว่าอินเตอร์เน็ตมีผลต่อการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก ซึ่งการใช้โซเชียลมีเดียสำหรับเด็กรุ่นใหม่อาจจะไม่มีปัญหาในการใช้มากนัก แต่สำหรับผู้สูงวัยในปัจจุบันนั้นอาจจะแตกต่างโดยสิ้นเชิง ดังนั้นเพื่อให้ตามทันกระแสของยุคสังคมในปัจจุบัน 5 โซเชียลมีเดียที่ผู้สูงวัยควรรู้และมีติดโทรศัพท์มือถือเอาไว้ ได้แก่

  1. ไลน์ (Line) เป็นแพลตฟอร์มที่ไม่ค่อยมีความซับซ้อนมากนักหากเทียบกับการใช้แอปพลิเคชั่นตัวอื่นๆเพราะLINE สามารถเพิ่มเพื่อนจากเบอร์โทรศัพท์ได้อย่างง่ายดาย จึงเหมาะสมแก่ผู้สูงวัยที่เพิ่งจะเริ่มใช้โซเชียลมีเดียครั้งแรก นอกจากนี้แอปพลิเคชั่นตัวนี้ยังสามารถ ส่งข้อความ ส่งรูป และโทรแบบเสียงหรือวิดีโอคอล ได้ฟรีตลอด24 ชม. จากสถิติ DIGITAL THAILAND 2020 ไลน์ยังคงครองอันดับหนึ่งแอปพลิเคชั่นที่มีจำนวนผู้ใช้งานมากที่สุดในไทยอีกด้วย
  2. เฟสบุ๊ค (Facebook) เฟสบุ๊คเป็นที่นิยมมากไม่แพ้ไลน์เช่นเดียวกัน หากสำหรับผู้สูงวัยแล้วการใช้งานอาจจะมีความซับซ้อนมากกว่าไลน์ อาจทำให้ผู้สูงวัยสับสนในขณะใช้งาน โดยปกติแล้วเฟซบุ๊คมักจะอัพเดทและเพิ่มลูกเล่นมากขึ้นในทุกๆหารอัพเดทของเฟสบุ๊ค ซึ่งอาจทำให้ผู้สูงวัยตามไม่ทัน แต่ลูกเล่นหลักๆที่คนกลุ่มนี้มักจะใช้กันคือการ ส่งข้อความ โทร โพสรูปหรือข้อความ ดูข่าว เป็นต้น
  3. อินสตาแกรม (Instagram) เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถโพสรูปหรือวิดีโอได้ฟรีไม่จำกัดเป็นสังคมที่เปิดกว้างมากขึ้น สามารถส่งข้อความหรือไดเรคหากันได้ เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายภาพและอยากโชว์ผลงานการถ่ายภาพหรือโพสรูปแบ่งปันไลฟ์สไตล์ของตัวเองโดยส่วนใหญ่แล้วกลุ่มคนที่เล่นมักจะติดตามรูปภาพดาราหรือศิลปิน
  4. ยูทูป (Youtube) ในปัจจุบันแทบจะไม่มีใครไม่รู้จักยูทูป ซึ่งผู้สูงวัยส่วนใหญ่มักจะดูเวลาอยู่บ้านหรือแทนรายการโทรทัศน์ เพราะยูทูปสามารถดูรายการโปรดต่างๆที่ออกอากาศทางโทรทัศน์ย้อนหลังได้ และยังสามารถเพลิดเพลินไปกับวิดีโอต่างๆที่เหล่านักยูทูปเบอร์ ได้สร้างสรรค์คอนเทนต์ต่างๆลงในช่องของตัวเองพร้อมทั้งความฮา ความสนุกและให้ความรู้ในเวลาเดียวกัน
  5. ติ๊กต่อก (TikTok) แพลตฟอร์มหรือแอปพลิเคชั่นที่มาแรงที่สุดในเวลานี้ที่ไม่แพ้เฟซบุ๊ค คงหนีไม่พ้นติ๊กต่อก ติ๊กต่อกเป็นแพลตฟอร์มที่นิยมใช้กันในหลายๆกลุ่มร่วมทั้งกลุ่มผู้สูงวัย เพราะแพลตฟอร์มนี้สามารถสร้างวิดีโอและตัดต่อง่ายๆผ่านมือถือโดยมีเพลงประกอบในช่วงเวลาสั้นๆ ที่สามารถเพลิดเพลินไปกับวิดีโอต่างๆทั้งให้ความรู้และความสนุกซึ่งต่างจากยูทูปที่จะเป็นวิดีโอยาวๆ

จากที่กล่าวมาทั้งหมดในข้างต้นจะพบว่า ยุคนี้เป็นยุคที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าสื่อทางโซเชียลมีเดียไม่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันเพราะจากสถิติดิจิทัล ของประเทศไทย ประจำปี 2020 มากกว่า50% ของจำนวนประชากรเข้าถึงระบบอินเตอร์เน็ตและเฉลี่ยคนละ 9 ชม.ต่อวัน ดังนั้นผู้สูงวัยจึงจำเป็นที่ต้องรู้เกี่ยวกับแพลตฟอร์มหรือแอปพลิเคชั่นดังกล่าวเพื่อให้ตามทันกระแสปัจจุบัน

Leave a Reply